สถิติการพิชิตยอดเขาสูงของ ไรน์โฮลด์ เมสเนอร์ ของ ไรน์โฮลด์_เมสเนอร์

  • ปี ค.ศ. 1950 ติดตามโจเซฟ เมสเนอร์ (Josef Messner) ผู้เป็นบิดา พิชิตยอดเขาสูง 900 เมตรใน เทือกเขาไกสเลอร์ชปิตเซน ได้เมื่ออายุเพียง 5 ขวบ
  • ปี ค.ศ. 1970 พิชิตยอดเขา นังกาปาร์บัต (Nanga Parbat) ยอดเขาสูงอันดับ 9 ของโลก (ความสูง 8,125 เมตร) โดยร่วมทีมกับน้องชายคือ กึนเธอร์ เมสเนอร์ (Günther Messner) ปีนขึ้นจากด้านที่ยากที่สุดจนสำเร็จ แต่ในการลงจากยอดเขา กึนเธอร์ได้หายสาบสูญไประหว่างเส้นทาง และไรน์โฮลด์ต้องตัดนิ้วเท้าทิ้งถึง 7 นิ้วเนื่องจากถูกหิมะกัด จากการพยายามค้นหาน้องชาย ในสภาพอากาศเย็นจัดเป็นเวลานาน แต่หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ไรน์โฮลด์ ยังตัดสินใจปีนเขาต่อไป และกลายเป็นจุดกำเนิดของตำนานการปีนเขาที่ยิ่งใหญ่
  • ปี ค.ศ. 1972 พิชิตยอดเขา มนัสลู (Manaslu) ยอดเขาสูงอันดับ 8 ของโลก (ความสูง 8,163 เมตร)
  • ปี ค.ศ. 1975 ร่วมกับ ปีเตอร์ ฮาเบเลอร์ (Peter Habeler) พิชิตยอดเขา แกเชอร์บรูม 1 (Gasherbrum I หรือ K5) ยอดเขาสูงอันดับ 11 ของโลก (ความสูง 8,068 เมตร) โดยไม่ใช้อุปกรณ์ปีนเขาสูงที่ใช้กันตามปกติ ทั้ง แคมป์ เชือก หมุดยึด และถังออกซิเจน และไม่ใช้ลูกหาบ ได้สำเร็จ
  • ปี ค.ศ. 1977
    • พิชิตยอดเขา เธาลาคีรี (Dhaulagiri) ยอดเขาสูงอันดับ 7 ของโลก (ความสูง 8,167 เมตร)
    • บินทดสอบโดยไม่ปรับความดันอากาศที่ความสูงระดับยอดเขาเอเวอเรสต์ (ประมาณ 9 พันเมตร) ว่าจะสามารถอยู่รอดโดยไม่ใช้ถังออกซิเจนสำรองได้หรือไม่
  • ปี ค.ศ. 1978
    • ในเดือนพฤษภาคม ร่วมกับ ปีเตอร์ ฮาเบเลอร์ (Peter Habeler) พิชิต ยอดเขาเอเวอเรสต์ (Everest) ยอดเขาสูงที่สุดในโลก (ความสูง 8,850 เมตร) โดยไม่ใช้ถังออกซิเจนสำรอง ไม่ใช้อุปกรณ์ปีนเขาสูงที่ใช้กันตามปกติ ทั้ง แคมป์ เชือก หมุดยึด และไม่ใช้ลูกหาบ ได้สำเร็จเป็นทีมแรกของโลก
    • ในเดือนสิงหาคม ย้อนกลับไปพิชิตยอดเขา นังกาปาร์บัต ซ้ำอีกครั้งเพียงลำพังคนเดียวได้สำเร็จ แต่ไรน์โฮลด์ยังคงค้นหาร่างของน้องชายไม่พบ
  • ปี ค.ศ. 1979 พิชิตยอดเขา เคทู (K2 หรือ Chogori) ยอดเขาสูงอันดับ 2 ของโลก (ความสูง 8,611 เมตร) ที่ขึ้นชื่อว่า ปีนยากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
  • ปี ค.ศ. 1980 ไรน์โฮลด์ เมสเนอร์ กลายเป็นมนุษย์คนแรกของโลก ที่ขึ้นสู่ยอดเขาเอเวอเรสต์เพียงลำพัง โดยไม่ใช้ถังออกซิเจนสำรองได้สำเร็จ
  • ปี ค.ศ. 1981 พิชิตยอดเขา ชิชาพังมะ (Shisha Pangma) ยอดเขาสูงอันดับ 13 ของโลก (ความสูง 8,046 เมตร)
  • ปี ค.ศ. 1982
    • พิชิตยอดเขา กันเจนชุงคา (Kangchenjunga) ยอดเขาสูงอันดับ 3 ของโลก (ความสูง 8,586 เมตร)
    • พิชิตยอดเขา แกเชอร์บรูม 2 (Gasherbrum II หรือ K4) ยอดเขาสูงอันดับ 14 ของโลก (ความสูง 8,035 เมตร)
    • พิชิตยอดเขา บรอดพีก (Broad Peak หรือ K3) ยอดเขาสูงอันดับ 12 ของโลก (ความสูง 8,047 เมตร)
    • พิชิตยอดเขา โชโอยู (Cho Oyu) ยอดเขาสูงอันดับ 6 ของโลก (ความสูง 8,201 เมตร)
  • ปี ค.ศ. 1983 ย้อนกลับไปพิชิตยอดเขา โชโอยู (Cho Oyu) อีกครั้ง
  • ปี ค.ศ. 1984
    • ย้อนกลับไปพิชิตยอดเขา แกเชอร์บรูม 1 (Gasherbrum I หรือ K5) อีกครั้ง
    • ย้อนกลับไปพิชิตยอดเขา แกเชอร์บรูม 2 (Gasherbrum II หรือ K4) อีกครั้ง
  • ปี ค.ศ. 1985
    • พิชิตยอดเขา อันนะปุรณะ (Annapurna) ยอดเขาสูงอันดับ 10 ของโลก (ความสูง 8,091 เมตร) ที่ขึ้นชื่อว่า อันตรายที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
    • ย้อนกลับไปพิชิตยอดเขา เธาลาคีรี (Dhaulagiri) อีกครั้ง
  • ปี ค.ศ. 1986
    • พิชิตยอดเขา มะกะลู (Makalu) ยอดเขาสูงอันดับ 5 ของโลก (ความสูง 8,463 เมตร)
    • ไรน์โฮลด์ เมสเนอร์ กลายเป็นมนุษย์คนแรก ที่สามารถพิชิตยอดเขาสูงเกิน 8,000 เมตรได้ครบทั้ง 14 แห่ง เมื่อสามารถพิชิตยอดเขา โลตเซ (Lhotse) ยอดเขาสูงอันดับ 4 ของโลก (ความสูง 8,516 เมตร) ได้สำเร็จ
  • ปี ค.ศ. 1989 ย้อนกลับไปพิชิตยอดเขา โลตเซ (Lhotse) อีกครั้ง

ใกล้เคียง

ไรน์โฮลด์ เมสเนอร์ ไรน์ฮาร์ท ไฮดริช ไชน์โพสต์ ไรน์ฮาร์ด ฟอน โลเอินกรัมม์ ไรส์โอวอยส์ออฟโรดีเซีย ไรน์-เน็คคาร์-อาเรนา ไรน์ลันท์ ไอน์โบ จิตวิญญาณแห่งอเมซอน ไรน์ II ไรน์เอแนร์กีชตาดีอ็อน